มาทำความรู้จักกันกับสถาบันการเงินว่าเป็นอย่างไรแบ่งเป็นกี่ประเภท
สำหรับคำว่าสถาบันการเงินนั้นได้มีการนิยามความหมายของสถาบันการเงินเอาไว้ค่อนข้างกว้าง โดยเริ่มจากการแบ่งประเภทของสถาบันการเงินเป็นสองหมวดหมู่หลัก นั่นคือสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าถ้าไม่ใช่ธนาคารแล้วสถาบันการเงินคืออะไรจะทำหน้าที่คล้ายกันกับธนาคารหรือไม่ ก็ต้องบอกว่าสถาบันการเงิน คือตัวกลางที่จะเข้ามาช่วยประชาชนให้สามารถมีสภาพคล่องที่ดีทางด้านการเงิน ไม่ว่าประชาชนจะได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินประเภทธนาคารหรือกลุ่มประชาชนที่ไม่สามารถกู้ยืมธนาคารโดยตรงได้ก็อาจจะต้องพึ่งพาขอวงเงินจากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารเพื่อเป็นทางเลือกที่ทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายที่สุด สำหรับนำไปแก้ไขปัญหาชีวิตนั่นเอง
กลุ่มสถาบันการเงินต่าง ๆ มีเป้าหมายหลักในการจัดตั้งเพื่ออะไร
ถ้าเราไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาเรื่องการเงินจากที่ไหนเลย เราจะบอกว่าเราไม่ต้องใช้บริการกับสถาบันการเงินก็ได้ แต่ต้องบอกเลยว่าเราอยู่ใกล้ชิดกับคำว่าสถาบันการเงินมากกว่าที่คิด เพราะสถาบันทางการเงินนั้นมีความหมายกว้างมากกว่านั้น แล้วสถาบันการเงินมีอะไรบ้างซึ่งก็มีทั้งธนาคาร, สหกรณ์ต่าง ๆ, โรงรับจำนำ, บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์, ประกันชีวิต, ประกันภัยและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นต้น ที่เป็นดั่งบริษัทที่เป็นเบื้องหลังให้บริการประชาชนทางด้านการเงินหลากหลายบริษัทแยกย่อยตามแต่ละประเภท แม้เราไม่ได้กู้ยืมเงินที่ไหนเลยแต่ถ้าหากเรามีรถเราก็จะได้ใช้บริการประกันภัยหากมีบ้านเราก็ต้องการประกันชีวิต ซึ่งถือว่าสถาบันการเงินเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราอยู่เสมอ จึงกลายเป็นเรื่องระดับภาครัฐที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจทุกอย่างที่เกี่ยวกับการเงินขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด
สถาบันการเงินดีต่อประชาชนหรือไม่แล้วทำหน้าที่อะไรได้บ้าง
สำหรับกลุ่มสถาบันการเงินนั้นล้วนมีตั้งขึ้นมาแบบถูกกฎหมายซึ่งหน้าที่ของสถาบันการเงินโดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวกับด้านการเงินโดยตรงต่างต้องการช่วยเหลือประชาชนที่มีปัญหาในเรื่องหนี้นอกระบบ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินก้อนเพื่อนำไปปิดยอดหนี้นอกระบบได้ ด้วยการทำงานของหนี้นอกระบบนั้นคิดดอกเบี้ยแพงมาก ๆ ใครที่ได้เผลอเข้าไปกู้ยืมก็จะเกิดปัญหาไม่สามารถหาเงินมาจ่ายเงินต้นเพื่อปิดบัญชีได้ จึงทำได้เพียงจ่ายเพียงดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ การเข้ามาของสถาบันการเงินก็จะเป็นอีกตัวช่วยที่ทำให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับที่จะเข้ามาช่วยประชาชนอีกแรง เพราะสถาบันนี้จะได้รับนโยบาลจากภาครัฐโดยตรงเพื่อออกผลิตภัณฑ์สำหรับแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน เมื่อประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก็จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้มากยิ่งขึ้นซึ่งมีถึง 4 สถาบันการเงินได้แก่ธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีจุดเด่นตรงที่ดอกเบี้ยถูกกว่าที่อื่น ๆ จึงเป็นอีกทางเลือกของประชาชนที่ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดียิ่งขึ้น
อัพเดทวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2024